วันพฤหัสบดีที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2556

อ้างอิง


เว็บไซต์อ้างอิง

http://www.thaiwbi.com/course/Intro_com/Intro_com/wbi1/hie/page41.htm
http://www.samakkhi.ac.th/roomnet46/page1-2.htm
http://www.t-neu.th.gs
http://www.cybered.co.th/warnuts/wbi/wbi2/web/menu4.htm
http://www.llse-ed.net/sanambin/hardware.html

บทบาทเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา


บทบาทเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
โลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบันคงไม่มีใครปฏิเสธว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ(InformationTechnology)หรือที่เรียกว่าITได้ เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้นการสื่อสารข้อมูลเป็นไปด้วยความรวดเร็วและเชื่อมโยงกันอย่างทั่วถึงและกว้างขวาง(Globalization) เทคโนโลยีทางด้านการสื่อสาร(Communication)และComputer ได้ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการติดต่อแลกเปลี่ยนสารสนเทศ (Information) ที่มีประสิทธิภาพทำให้เกิดเครือข่ายข้อมูลที่เป็นเหมือน ใยแมงมุมครอบคลุมทั่วโลกหรือWWW(WorldWideWeb)ที่เราเห็น ได้จากการใช้งานในระบบInternetซึ่งได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันไปเสียแล้วและกำลังขยายปริมาณจำนวนผู้ใช้มากขึ้นๆใน ทุกวันมีการใช้Internetในการสืบค้นข้อมูลความรู้ทั่วไปการติดต่อ สื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ เช่นการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์  (e-mail),  การพูดคุย (Chat)  หรือ การใช้ Video conference เป็นต้น การทำธุรกิจการค้า(e-commerce)การใช้เพื่อการบันเทิงต่างๆ เป็นการดูหนัง,ฟังเพลง,การอ่านนิตยสารอิเล็กทรอนิกส์(e-Magazine)รวมทั้งe-Bookที่อาจมาแทนที่กระดาษโนอนาคตอันใกล้ อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีสารสนเทศอาจมีทั้งคุณและโทษแต่ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะสามารถเลือกใช้ให้เป็นประโยชน์ในทางที่ดีได้อย่างไรซึ่งเราสามารถนำระบบเทคโนโลยีสาสนเทศมาใช้เพื่อการพัฒนา ทางด้านการศึกษาได้เป็นอย่างดี
การเรียนการสอนในปัจจุบันเราจัดในห้องเรียนมีครู-อาจารย์เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้แต่แนวโน้มของการปฏิรูปการศึกษาในอนาคตเน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้ที่สามารถคิดเป็น  ทำเป็น (Constructive)  ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้และเป็นองค์ความรู้(Knowledge Body)ที่จะต้องได้รับการส่งเสริมให้พัฒนาได้เต็มศักยภาพ ที่แตกต่างกันของบุคคล(Individualdifferent)ครูจะกลายมามีบทบาท ในการให้ความช่วยเหลือแนะนำ(Facilitator) ในการเรียนการสอน     ดังนั้นด้วยในคุณสมบัติที่ดีของศึกษาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ     ทำให้สามารถสร้างห้องเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์(e-Classroom) และการจัดการศึกษาแบบe-Educationซึ่งสามารถออกแบบ หลักสูตร,เนื้อหา,กระบวนการเรียนการสอนและบทเรียนที่บรรจุข้อมูลทั้งตัวอักษรและรูปภาพให้ผู้เรียนลงทะเบียนเข้ามาศึกษาได้และ สามารถประเมินผลได้ด้วยตนเองหลังจากเรียนจบแต่ละหน่วย การเรียนและยังจะมีโอกาสฝึกฝนจนรู้จริงซึ่งขึ้นอยู่กับการออกแบบ บทเรียนโดยนักออกแบบการเรียนการสอน(InstructionalDesigner) ซึ่งจะเป็นครูผู้เชี่ยวชาญพิเศษในยุคอนาคตที่สามารถจัดการเรียนรู้ ในรูปแบบe-Learning นั่นเอง

ผลกระทบต่อการศึกษาและการเรียนการสอน
1.เทคโนโลยี ความเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ช่วยสอน e-Learning  เป็นไปอย่างรวดเร็ว และตลอดเวลา ทำให้บุคลกรเกิดความกลัวที่ต้องเรียนรู้ ทำความเข้าใจในสิ่งใหม่ๆ บางคนปิดรับการเรียนรู้ กระทั่งต่อต้านการใช้เทคโนโลยีในระบบต่างๆ
2.ต้องมีการพัฒนาการเรียนการสอน e-Learning  เพื่อให้เหมาะกับการศึกษาจะสามารถ ทำให้ผู้เรียน     ประหยัดเวลาในการทำการศึกษาโดยการผ่านสื่อโดยเรียกว่า การศึกษาทางไกล
3.การที่เราใช้สายตาเพ็งจอคอมพิวเตอร์ขณะศึกษา e-Learning  นานๆอาจทำให้สายตาเสียได้ ซึ่งผลกระทบนี้ทำห้สูญเสียเวลาของการเรียนและการสอนเพราะต้องใช้เวลาในการรักษาตัว
สรุป
การเรียนรู้โดยผ่านเทคโนโลยีการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นั้น เป็นสิ่งที่มีความจำเป็น อย่างมากสำหรับโลกยุคนี้ และ   e-Learning  นี้ก็จะเป็นเส้นทางหนึ่งที่ช่วยพัฒนาแต่ละประเทศให้สามารถเข้าสู่ สังคมยุค IT ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น IT เพื่อการศึกษาในหลาย ๆ รูปแบบจึงถูกนำมาใช้ในการเรียน การสอนมากยิ่งขึ้นเรื่อย ทั้งนี้ก็เพื่อจะเป็นการเตรียมความพร้อม ทรัพยากรมนุษย์ ห้พร้อมที่จะเข้าสู่สังคมยุคต่อไปซึ่งเป็นยุคของเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสังคมมนุษย์อีกมากมาย ที่สุดเท่าที่จะคาดการณ์ได้ในขณะนี้

ลักษณะสำคัญของ e-Learning


ลักษณะสำคัญของ e-Learning
e-Learning  นับเป็นคำใหม่พอสมควร ที่มีความหมายถึงการอบรมด้วยระบบเครือข่าย หรือผ่านระบบเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือเครือข่ายอินทราเน็ตในองค์กร ดังนั้น E-Learning  จึงได้ผนวกเข้ากับโลกแห่งการศึกษา และวงจรธุรกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ปัจจุบันนี้บริษัทหลายบริษัทพัฒนาระบบ e-Learning  เพื่ออบรมพนักงานขายของบริษัท ให้ทราบและรู้จักผลิตภัณฑ์ใหม่ พร้อมเทคนิคการขาย มหาวิทยาลัยชั้นนำต่างๆ เช่น Stanford หรือ Harvard ก็นำระบบ e-Learning  มาให้บริการนิสิต นักศึกษาจากทั่วโลก เพื่อสมัครเรียนในหลักสูตรต่างๆ ที่เปิดให้บริการ ดังนั้นจึงพอจะสรุปลักษณะสำคัญของ e-Learning  ได้ดังนี้
Anywhere, Anytime and Anybody คือ ผู้เรียนจะเป็นใครก็ได้ มาจากที่ใดก็ได้ และเรียนเวลาใดก็ได้ตามความต้องการของผู้เรียน เพราะหน่วยงานได้เปิดเว็บไซต์ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งบริการจัดทำเป็นชุด CD เพื่อใช้ในลักษณะ Offline ให้กับโรงเรียนหรือสถานศึกษาที่สนใจ แต่ยังไม่พร้อมในระบบอินเทอร์เน็ต
Multimedia สื่อที่นำเสนอในเว็บ ประกอบด้วยข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ตลอดจนวีดิทัศน์ อันจะช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี
Non-Linear ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนเนื้อหาที่นำเสนอได้ตามความต้องการ
Interactive ด้วยความสามารถของเอกสารเว็บที่มีจุดเชื่อม (Links) ย่อมทำให้เนื้อหามีลักษณะโต้ตอบกับผู้ใช้โดยอัตโนมัติอยู่แล้ว และผู้เรียนยังเพิ่มส่วนติดต่อกับวิทยากรผ่านระบบเมล์ ICQ, Microsoft Messenger และสมุดเยี่ยม ทำให้ผู้เรียนกับวิทยากรสามารถติดต่อกันได้อย่างรวดเร็ว
ดังนั้นรูปแบบการเรียนการสอนผ่านเว็บ จึงมีความยึดหยุ่นสูง ผู้เรียนจะต้องมีความรับผิดชอบ มีความกระตือรือร้นในการเรียนมากกว่าปกติ มีความตั้งใจใฝ่หาความรู้ใหม่ๆ ตรงกับระบบการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยมีผู้สอนเป็นเพียงผู้แนะนำ ที่ปรึกษา และแนะนำแหล่งความรู้ใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียน
ผู้เรียนสามารถทราบผลย้อนกลับของการเรียน รู้ความก้าวหน้าได้จาก E-Mail การประเมินผลควรแบ่งเป็น การประเมินย่อย โดยใช้เว็บไซต์เป็นที่สอบ และการประเมินผลรวม ที่ใช้การสอบแบบปกติในห้องเรียน เพื่อเป็นการยืนยันว่าผู้เรียนเรียนจริงและทำข้อสอบจริงได้หรือไม่ อย่างไร

ปัญหาการพัฒนา e-Learning ในประเทศไท


ปัญหาการพัฒนา e-Learning  ในประเทศไทย
การพัฒนา WBI และ E-Learning  ในประเทศไทย ต่างก็ประสบปัญหาต่างๆ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
ปัญหาการสนับสนุนด้านงบประมาณและบุคลากร และการสนับสนุนจากผู้บริหาร
ปัญหาการขาดความรู้ด้านเทคโนโลยี E-Learning  และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
ปัญหาเรื่องราคาของซอฟต์แวร์ CMS/LMS และการลิขสิทธิ์
ปัญหาเรื่องทีมงานดำเนินการ ทั้งด้านความรู้, การคิดสร้างสรรค์ และเงินสนับสนุน
ปัญหาเกี่ยวกับเนื้อหาที่จะนำเสนอ ทั้งแหล่งที่มา, ผลตอบแทน และการละเมิดเมื่อเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์
ปัญหาเกี่ยวกับ Infrastructure ของประเทศ ที่ยังขาดความพร้อม
ปัญหาเกี่ยวกับมาตรฐานการพัฒนาเว็บภาษาไทย ทั้งการเข้ารหัส, การใช้ฟอนต์ และรูปแบบ
ปัญหาเกี่ยวกับมาตรฐานการจัดทำระบบ CMS/LMS

รูปแบบการเรียนการสอน


รูปแบบการเรียนการสอน
1. การเรียนการสอนทางไกล (Distance Education) เป็นระบบการเรียนการสอนที่ประยุกต์เทคโนโลยีหลายๆ  อย่าง เช่น  ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์  การประชุมทางไกลชนิดภาพ/เสียง  รวมถึงเอกสารต่าง ๆ  เพื่อเข้าถึงผู้เรียนที่อยู่ห่างไกล
6
2. แบบมหาวิทยาลัยออนไลน์  อาจจะเรียกว่า Online University หรือ Virtual University เป็นระบบการเรียนการสอนที่อยู่บนเครือข่ายในรูปเว็บเพจ  มีการสร้างกระดานถาม-ตอบ อิเล็กทรอนิกส์ (Wed Board)
3. การเรียนการสอนผ่านทางอินเทอร์เน็ตและเว็บเพจ (Online Learning, Internet Web Base Education)  เป็นการนำเสนอเนื้อหาและการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอนโดยเน้นสื่อประสมหลาย ๆ  อย่างเข้าด้วยกัน  มีการสร้างสภาวะแวดล้อมที่ประสานงานกัน  ให้ผู้เรียนและผู้สอนสามารถเข้าถึงฐานข้อมูลหลายชนิดได้  โดยผู้เรียนต้องควบคุมจังหวะการเรียนรู้
4. โครงข่ายการเรียนการสอนแบบอะซิงโครนัส(Asynchronous Learning Network: ALN)  เป็นการเรียนการสอนที่ต้องมีการติดตามผลระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน  โดยใช้การทดสอบบทเรียน  เป็นตัวโต้ตอบ
E-Learning  ในประเทศไทย
การจัดระบบการเรียนการสอนทางไกลในประเทศไทยในปัจจุบัน ได้ก้าวเข้าสู่การใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อในการนำเสนอ โดยมีรูปแบบการนำเสนอผลงานแบ่งได้ 2 รูปแบบใหญ่ๆ คือ
การนำเสนอในลักษณะ Web Based Learning
การนำเสนอในลักษณะ E-Learning
รูปแบบการพัฒนา E-Learning  ในประเทศไทย
ทั้ง WBI และ E-Learning  ที่มีอยู่ประเทศไทย พบว่าแต่ละหน่วยงานได้พัฒนาระบบ LMS/CMS ของตนเอง อิงมาตรฐานของ AICC เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งแต่ละหน่วยงานก็ใช้ Web Programming แตกต่างกันออกไปทั้ง PHP, ASP, Flash Action Script, JavaScript ทั้งนี้อาจจะจัดตั้งหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง หรืออาจจะพัฒนาโดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเป็นการส่วนตัวก็ได้ เนื่องจากปัญหาส่วนใหญ่จะมาจากการขาดงบประมาณและการสนับสนุนที่เป็นรูปธรรมจากผู้บริหาร
นอกจากนี้มีบริษัทภายในประเทศไทยที่พัฒนาซอฟต์แวร์บริหารจัดการการเรียนชื่อ Education Sphere (http://www.educationsphere.com/) คือบริษัท Sum System จำกัด ที่พัฒนา LMS Software ออกมาให้จำหน่ายและพัฒนาให้กับมหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นหน่วยงานแรก  รวมทั้งศูนย์การศึกษาต่อเนื่องแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็พัฒนาโปรแกรมจัดการหลักสูตรเนื้อหาวิชา และการจัดการเรียนการสอนชนิด Web Based Instruction โดยตั้งชื่อโปรแกรมว่า Chula E-Learning  System (Chula ELS) ออกมาให้บริการเช่นกัน

บทบาท e-Learning กับการศึกษาปัจจุบัน


บทบาท e-Learning  กับการศึกษาปัจจุบัน
เทคโนโลยีของ e-Learning  กำลังจะเข้ามามีความสำคัญ ต่อชีวิตประจำวันของเราทุกคนไม่ว่าจะเป็นบุคคลคนเดียว องค์กร สถาบันทั้งภาครัฐและเอกชน โดยเข้ามามีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดข้อมูลความรู้ (knowledge) ต่างๆ พร้อมกับเปิดโอกาส ให้มีการฝึกปฏิบัติด้วยตัวเองของผู้เรียนแต่ละคน e-Learning  จะเข้ามามีบทบาททั้งในด้านธุรกิจ และการศึกษา โดยทั่วไปการถ่ายทอดเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Education) รวมถึงการฝึกอบรม (training) ผ่านบริการออนไลน์
4
เกิดจากการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เหล่านี้มาผนวกเข้ากับเนื้อหาวิชาในแต่ละสาขา ก็จะทำให้ผู้ที่ทำงานอยู่ในองค์กรทั้งภาครัฐ เอกชนและรวมถึงบุคคลทั่วไป มีโอกาสศึกษาหาความรู้ใหม่ๆ เพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลาซึ่งจะเป็นการเพิ่มศักยภาพในการทำงานให้สูงขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรนั้นๆเพื่อให้ประสบความสำเร็จในการแข่งขัน ในประชาคมโลกมากขึ้น โดยอาศัยเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบัน ถ้าพูดกันถึงในระดับประเทศแล้ว ประเทศไทยเราเองก็ขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ และแม้แต่ที่มีอยู่แล้ว ก็ต้องมีการพัฒนาและศึกษาเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ทันกับกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป และเป็นการพัฒนาองค์กรให้ก้าวหน้านำหน้าคู่แข่งทางธุรกิจ ทั้งนี้องค์กรที่กล่าวถึงไม่ใช่เป็นแค่เฉพาะในส่วนของบริษัทเอกชนต่างๆ เท่านั้นยังรวมไปถึงสถาบันของรัฐและสถาบันการศึกษาต่างๆที่นับวันจะต้องผลิตบุคลากร เพื่อรองรับความต้องการของตลาดแรงงาน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนต่อไปในอนาคตด้วย
ในปัจจุบันสถาบันการศึกษา เปรียบได้กับบริษัทเอกชนบริษัทหนึ่ง ที่มีลูกค้าคือ นักเรียน นิสิต นักศึกษาที่ลงทะเบียนเข้ามาเรียน นั่นหมายความว่า ถ้าค้นพบว่าลูกค้ามีความต้องการอะไร ในฐานะบริษัทฯก็ควรจะตอบสนองความต้องการของลูกค้านั้น ให้ได้มากที่สุด แต่การตอบสนองความต้องการ ที่นับวันจะหลากหลายมากขึ้นในปัจจุบันนั้น หากทำกันด้วยวิธีการเดิมๆก็อาจต้องใช้ทรัพยากรต่างๆ (ที่ไม่เพียงพออยู่แล้ว) อย่างมากมายมหาศาลสถาบันการศึกษาอาจต้องมีทั้งผู้สอน และเครื่องไม้เครื่องมือที่แตกต่างกันเป็นจำนวนมากจึงจะสามารถตอบสนองความต้องการของตลาดได้ แต่ก็อาจไม่คุ้มค่าใช้จ่าย เช่น ต้องมีคณาจารย์ให้ครบในสาขาวิชาปลีกย่อยหลายๆอย่าง (ที่อาจมีผู้เรียนแต่ละวิชาไม่มากพอ) ต้องมีโปรแกรม ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ สำหรับให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติครบคน (ทั้งที่ผู้เรียนส่วนมาก ก็อาจมีเครื่องใช้เองอยู่แล้วซึ่งอาจใหม่กว่า หรือดีกว่าของสถาบันเสียอีก เพราะซื้อทีหลัง) หรือนักศึกษาที่เรียนในภาคค่ำไม่สามารถเดินทางมาเข้าเรียนได้ทัน เพราะปัญหาจราจร (หรือมาทันก็เหนื่อยจนหมดแรงที่จะเรียน)และปัญหาอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งระบบ e-Learning  จะเข้ามาช่วยในส่วนนี้ได้ ระบบการเรียนการสอนแบบ e-Learning  เป็นระบบที่มีกระบวนการเรียนการสอน ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิคส์ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งสื่อแบบ offline, online หรือ web-based หรือแม้แต่ผ่านเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายๆชนิด เช่นโทรทัศน์, วิทยุ, เทป, ซีดีรอม หรือแม้แต่โทรศัพท์มือถือ ที่ต่อเชื่อมกับอินเตอร์เน็ตได้หรือการติดต่อผ่านระบบดาวเทียม ที่ไม่ได้มีการพิมพ์ออกมาเป็นหนังสือ ทำให้การปรับปรุงแก้ไขทำได้โดยสะดวกและรวดเร็ว ซึ่งในปัจจุบันเป็นที่เข้าใจอย่างกว้างๆกันว่า e-Learning  หมายถึงระบบการศึกษาหรือการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ตามความสามารถและความสนใจ ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเตอร์เน็ต (Internet) โดยเนื้อหาของหลักสูตร หรือบทเรียนที่จะศึกษา จะประกอบด้วยข้อความ รูปภาพเสียง วิดีโอ และมัลติมีเดียต่างๆ ที่จะถูกส่งผ่านเว็บเบราเซอร์ไปยังผู้เรียนทำให้ทุกคนสามารถติดต่อสื่อสาร และแลกเปลี่ยนความ
5
คิดเห็นซึ่งกันและกันได้ โดยอาศัยการส่งผ่าน e-mail,chat และ web-board เป็นต้น และถือเป็นการเรียนได้ทุกเวลา และทุกสถานที่
e-Learning  ถือเป็นระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งบุคคล องค์กร สถาบัน สามารถจะจัดทำขึ้นมาเองหรืออาศัยบริษัทผู้ให้บริการ ที่เรียกว่า Learning Service Provider จัดการให้ก็ได้ ประโยชน์อีกลักษณะหนึ่งของการใช้ e-Learning  ควบคู่ไปกับการเรียนรู้ในห้องเรียนแบบเดิม (traditionalclassroom) ก็คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการเรียนรู้ (learn) ของผู้เรียนหรือผู้เข้าอบรมโดยการสนับสนุนให้ผู้เรียน ได้รับการเรียนรู้แบบมีการโต้ตอบ (interactive) และเป็นแบบเห็นจริง (visual)อันจะเอื้ออำนวยให้เข้าใจแนวความคิดที่ซับซ้อน และได้รับข้อมูลความรู้อย่างถูกต้องมากกว่าการนั่งฟังบรรยายเฉยๆ เพราะตามที่ทราบกันอยู่แล้วว่า การศึกษาในหลายสาขาวิชานั้นต้องการการอบรมที่ให้เห็นเสมือนเป็นการทำงานจริง (simulate) คือมีการโต้ตอบ และแสดงผลโดยภาพกราฟิกที่มีคุณภาพดี หรือมีภาพเคลื่อนไหว รวมถึงการมีแบบทดสอบ เพื่อวัดความรู้ของตนเอง
นอกจากนี้ ถ้ามองกันถึงการใช้ e-Learning  เพื่อให้โอกาสทางการศึกษาแก่เด็กหรือนักศึกษาหรือผู้ที่อาศัยห่างไกลออกไป ก็เท่ากับเป็นการลดช่องว่างในการศึกษาระหว่างผู้ที่อาศัยอยู่ในตัวเมือง (หรือจังหวัดใหญ่ๆ) กับผู้ที่อาศัยอยู่ในชนบท(จังหวัดเล็กๆหรือต่างจังหวัด) ได้อีกด้วย แต่ทั้งนี้องค์ประกอบที่สำคัญ ที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุด ในการเรียนการสอนแบบ e-Learning  ก็คือ คน ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญ ที่จะกำหนดแนวทางการพัฒนาการศึกษา โดยต้องเริ่มตั้งแต่การให้ความรู้ทางเทคโนโลยีแก่บุคคลทุกคนทุกเพศทุกวัย ให้เปิดรับและทำความเข้าใจว่า e-Learning  มีความสำคัญอย่างไรช่วยอำนวยความสะดวกให้กับคนแต่ละคน บริษัท หน่วยงาน สถาบันต่างๆ อะไรบ้าง และที่สำคัญก็คือจะช่วยในการพัฒนาการศึกษาของประเทศไทยอย่างไร
ในปัจจุบันทางภาครัฐเอง ก็ได้มีการกำหนดแนวทางการพัฒนาประเทศไทยโดยครอบคลุมถึงการพัฒนาทางด้านการศึกษาไปด้วย โดยมีผลครอบคลุมไปทั่วประเทศ ก็หวังว่าทุกคนคงตื่นตัวและเตรียมความพร้อม เพื่อรับโอกาสทางเทคโนโลยี e-Learning  ซึ่งจะมีผลต่อเราทุกคนไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม

ลักษณะสำคัญของ e-learning


ลักษณะสำคัญของ e-learning
e-learning นับเป็นคำใหม่พอสมควร ที่มีความหมายถึงการอบรมด้วยระบบเครือข่าย หรือผ่านระบบเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือเครือข่ายอินทราเน็ตในองค์กร ดังนั้น
e-learning จึงได้ผนวกเข้ากับโลกแห่งการศึกษา และวงจรธุรกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ปัจจุบันนี้บริษัทหลายบริษัทพัฒนาระบบ e-learning เพื่ออบรมพนักงานขายของบริษัท ให้ทราบและรู้จักผลิตภัณฑ์ใหม่ พร้อมเทคนิคการขาย มหาวิทยาลัยชั้นนำต่างๆ เช่น Stanford หรือ Harvard ก็นำระบบ E-learning มาให้บริการนิสิต นักศึกษาจากทั่วโลก เพื่อสมัครเรียนในหลักสูตรต่างๆ ที่เปิดให้บริการ ดังนั้นจึงพอจะสรุปลักษณะสำคัญของ e-learning ได้ดังนี้
Anywhere, Anytime and Anybody คือ ผู้เรียนจะเป็นใครก็ได้ มาจากที่ใดก็ได้ และเรียนเวลาใดก็ได้ตามความต้องการของผู้เรียน เพราะหน่วยงานได้เปิดเว็บไซต์ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งบริการจัดทำเป็นชุด CD เพื่อใช้ในลักษณะ Offline ให้กับโรงเรียนหรือสถานศึกษาที่สนใจ แต่ยังไม่พร้อมในระบบอินเทอร์เน็ต
Multimedia คือ สื่อที่นำเสนอในเว็บ ประกอบด้วยข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ตลอดจนวีดีทัศน์ อันจะช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี
Non-Linear คือ ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนเนื้อหาที่นำเสนอได้ตามความต้องการ
Interactive ด้วยความสามารถของเอกสารเว็บที่มีจุดเชื่อม (Links) ย่อมทำให้เนื้อหามีลักษณะโต้ตอบกับผู้ใช้โดยอัตโนมัติอยู่แล้ว และผู้เรียนยังเพิ่มส่วนติดต่อกับวิทยากรผ่านระบบเมล์ ICQ, Microsoft Messenger และสมุดเยี่ยม ทำให้ผู้เรียนกับวิทยากรสามารถติดต่อกันได้อย่างรวดเร็ว